วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ต้องใช้ CPU ที่รองรับ PAE แล้วตกลง PAE คือไรครับ


PAE นี้ทำให้ os 32 bit สามารถใช้งานแรมได้มากกว่า 4 GB ถ้าเป็น 64 bit ก็ใช้แรมได้มากกว่า 4 GB อยู่แล้ว

PAE คือความสามารถของ CPU บางตัว ทำให้เห็น RAM ได้ถึง 64GB ครับ (64 บิตแท้ได้เป็นล้านครับ แต่อันที่จริง amd64 ได้ไม่ถึง) ทั้งนี้มีข้อจำกัดคือ
  1. OS จะต้องรองรับความสามารถนี้
  2. แม้ OS จะเห็นเต็ม แต่โปรแกรม 1 ตัว ใช้ได้แค่ 2GB นะครับ (อ๋อ มิน่า PulseAudio ผมมันกินแรมไป 2GB เพราะหมดแล้วนี่เอง แต่มันก็เหลือแรมให้ผมใช้ไม่ถึง GB)
  3. CPU ต้องรองรับครับ (ตั้งแต่ Pentium Pro ขึ้นไป)
สำหรับ Ubuntu เองมีให้เลือกครับ ไม่บังคับใช้ และจะไม่เปิดใช้มาตั้งแต่ต้น เป็นของเล่นใหม่ใน 9.10 (สำหรับ Ubuntu Server มีนานแล้วครับ) ทั้งนี้ใครจะติดตั้ง PAE kernel ใน VirtualBox ต้องไปเปิดให้ VirtualBox แสดง PAE ใน Settings ของ Guest ก่อนนะครับไม่อย่างนั้นจะบูทไม่ได้
 
แล้ว PAE มันทำงานอย่างไรทำไม Windows ไม่เปิดใช้งานมาเลยต้องให้เราไปทำเพื่ออะไร
 
PAE Mode
PAE is the second method supported to access memory above 4 GB; this method has been widely implemented. PAE maps up to 64 GB of physical memory into a 32-bit (4 GB) virtual address space using either 4-KB or 2-MB pages. The Page directories and the page tables are extended to 8 byte formats, allowing the extension of the base addresses of page tables and page frames to 24 bits (from 20 bits). This is where the extra four bits are introduced to complete the 36-bit physical address.
การ PAE คือการทำให้ วินโดวส์ของเรานั้นที่เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิต = 2 ^ 32 Bit (4 GB) กลายเป็น 36 บิต = 2 ^ 36 Bit (64 GB) ทำให้ CPU มันทำ RAS กับ CAS ที่ 36 bit ได้ จึงทำให้ระบบปฎิบัติการสามารถมองเห็นหน่วยความจำทางกายภาพได้ภายในขอบเขตที่เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่เกิน 64 GB ซึ่งเราจะเห็นกับการใช้งานกับ Windows Server 2003 ซะส่วนใหญ่ (ผมได้ทำการทดลองกับ Windows Vista/7 แล้วปรากฎว่าไม่ได้ผลครับ กลายเป็นว่าระบบมองหน่วยความจำที่ไม่สามารถใช้ได้เป็นพื้นที่ใช้ในการ Swap เท่านั้นเอง)

สรุปก็คือ PAE คือ Physical Address Extension หรือการเพิ่ม Address ของ Windows 32bit จาก 32bit เป็น 36 bit ทำให้อ้าง RAM ได้สูงสุด 64GB นั่นเองนะครับ (เห็นใช้ใน Windows Server 2003 ซะส่วนใหญ่แล้ว แต่ทดลองกับ Windows Vista/7 ไม่ได้ผลครับ กลายเป็น Swap แทน) และที่ร้ายกว่านั้นเวลา Boot เครื่องก็จอสีดำ หรือบางครับทำงานได้แต่เครื่องจะกระตุก เป็นระยะจนรำคาญต้องไป 64Bit แทน
 

อ้างอิง
 http://www.raymond.cc/blog/archives/...an-4gb-memory/ --ใช้กับ Windows 7 32 บิต
 http://www.remkoweijnen.nl/blog/2009...-gb-of-memory/ -- อันนี้ค่อนข้างยากนิดหนึ่ง
 http://www.monavista.com/webboard/sh...40&postcount=2 -- เครดิดคุณ BluMarry ผมทำแล้วครับ ทำได้จริง 100% ใน Windows Vista 32 บิตนะ
 
จากที่ทดลองมาก็ยกเลิกไป 64Bit เลยจะดีกว่าครับ เพราะผมใช้เครื่องในการเขียนโปรแกรมเป็นหลักมีปัญหาให้แก้อยู่บ่อยๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น